2. บุคลากร ห้องสมุดจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับหน้าที่การงานซึ่งประกอบด้วยบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานของห้องสมุด เป็นต้น
การปฏิบัติงานห้องสมุด บุคคลที่เป็นบรรณารักษ์จะต้องมีความรู้ 5 ประการ คือ
2.1 งานทางด้านวิชาการทั่วไป
2.2 .งานทางด้านเทคนิค
2.3 งานทางด้านการบริการ
2.4 งานทางด้านการบริหาร
2.5 งานทางด้านการประชาสัมพันธ์
3. จัดหนังสือ วัสดุ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างกว้างขวางทุกประเภท มีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ และจัดให้เป็นหมวดหมู่ตามระบบที่ห้องสมุดนั้นใช้จัด
4.ให้บริการหนังสือแบบชั้นเปิด (Open Shelf) คือ การจัดหนังสือไว้บนชั้นวางหนังสือ และให้ผู้ใช้มีโอกาสได้เลือกหนังสือจากชั้นด้วยตนเองตามความต้องการ โดยไม่ต้องให้บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่มาบริการให้
5.การบริการ งานด้านการบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด จึงควรจัดบริการให้ดีที่สุดและสร้างความประทับใจกับผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด งานทางด้านการบริการที่สำคัญของห้องสมุด ได้แก่
5.1 การบริการรับและจ่ายหนังสือ
5.2 บริการหนังสือจอง
5.3 การบริการแนะนำหนังสือดี หรือหนังสือที่น่าสนใจ หนังสือใหม่ๆ ที่จัดหาเข้าห้องสมุดเพื่อให้ผู้บริการได้ทราบ
5.4 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
5.5 บริการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรม
5.6 บริการการสอนและแนะนำการใช้ห้องสมุด
5.7 บริการถ่ายทำสำเนาเอกสาร
5.8 บริการโสตทัศนวัสดุ
5.9 บริการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดอภิปรายบรรยายหรือปาฐกถา การแข่งขันทางด้านวิชาการ การเล่านิทาน การแสดงหุ่นกระบอก การแสดงละคร การแข่งขันต่างๆ เป็นต้น
6. มีงบประมาณของห้องสมุด การกำหนดงบประมาณรายจ่ายที่ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้ในปีหนึ่งๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ งบประมาณของห้องสมุดได้มาจากหลายทาง เช่น
6.1 งบประมาณแผ่นดิน ได้รับจากรัฐบาลผ่านกระทรวงต้นสังกัด
6.2 เงินบำรุงการศึกษา ซึ่งเป็นเงินที่สถาบันการศึกษาได้รับอนุญาตให้เก็บจากนักเรียน นิสิตนักศึกษาและอีกส่วนหนึ่งจะแบ่งมาเป็นเงินบำรุงห้องสมุด
6.3 เงินรายได้อื่นๆ เช่น ค่าปรับหนังสือที่ยืมห้องสมุดไปแล้วนำมาส่งคืนไปเกินกำหนด ค่าธรรมเนียมต่างๆ ฯลฯ
7. จัดทำคู่มือ หรือเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง เช่น จัดทำหมู่หนังสือ การจัดทำบัตรรายการ การจัดทำรายชื่อหนังสือหรือบรรณานุกรมตามหมวดวิชา ฯลฯ
ที่มา : สามารถ มีศรี และคณะ. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : พัฒนาวิชาการ, 2547. (หน้า 10 - 11).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น