สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้พัฒนาและประกาศใช้มาตรฐานห้องสมุดประเภทต่างๆ รวม 6 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ นับตั้งแต่รมวิเทศสหการได้เริ่มจัดทำเมื่อ พ.ศ. 2508 มีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2531 และฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ตือมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2545
2. มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2533 และปรับปรุงแก้ไขฉบับที่ใช้ในปัจจุบันคือ มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2550 ซี่งเป็นผลจากการวิจัยโดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ คนปัจจุบันเป็นผู้วิจัย และอนุญาตให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ทำมาประกาศใช้
3. มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2533
4. มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533
5. มาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษาเพื่อการอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี พ.ศ. 2535
6. มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ. 2549 เป็นมาตรฐานกลางเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานห้องสมุดประเภทอื่นๆ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศในระดับชาติ คือ การที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2546 เป็นปีแห่งการอ่าน เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเรียน มีนิสัยรักการอ่าน เพื่อสร้างการรู้สารสนเทศ จึงมีความเคลื่อนไหวในการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุด โดยคณะรัฐบาลได้มอบนโยบายในการบริการระบบห้องสมุดไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา คือการทำให้ห้องสมุดน่าสนใจ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (living library) ซึ่งคาดหมายได้ว่าจะช่วยทำให้คนทั่วไปหันมาใช้บริการห้องสมุด และจะทำให้เกิดนิสัยรักการอ่านได้ แนวทางการพัฒนาห้องสมุดปัจจุบันจึงเป็นแนวทางการสร้างการรู้สารสนเทศให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้สุทธิลักษณ์ อำพันวงษ์. (2511). มาตรฐานของห้องสมุดในประเทศไทย. พระนคร: แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น