ปรับปรุงจากหนังสือ เปลี่ยนโลกรอบตัว จัดทำโดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2553 ห้องสมุดที่เราคุ้นชินกับการค้นหนังสือเล่มหนาเตอะ มาหาข้อมูลด้วยการอ่านบนโต๊ะ กำลังจะพัฒนาไปสู่หน้าจอกระจกหรือพลาสติค ที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันใจ ก่อนหน้านี้หากต้องการหาหนังสือซักเล่มในห้องสมุด คงต้องเดินไปคุ้ยจากบัตรรายการที่วางเรียงเป็นแถว หรือคลิกไปหาในระบบสืบค้นหนังสือจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบการจัดการทั้งหมดล้วนอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เรื่องราวในห้องสมุดก็เปลี่ยนแปลงตั้งแต่การจัดเก็บ ค้นหา ไปจนถึงการมีส่วนร่วมดูแลข้อมูลของทุกคนที่ท่องโลกอินเตอร์เน็ต
Web 2.0 Library 2.0
จากแนวคิด สู่การประยุกต์ใช้จริง
โลกเสมือนในอินเตอร์เน็ตดูเหมือนจะซ้อนทับกับโลกแห่งความจริงอย่างแยกไม่ออก ผู้คนนำตัวไปอาศัยในพื้นที่อิสระแห่งนี้ ตั้งแต่การเรียนรู้ การทำงาน รวมถึงการบริโภค จับจ่ายใช้สอยได้อย่างไร้ขอบเขตด้วยเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ถึงขนาดบันดาลทุกอย่างได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ดังคุณสมบัติของ Web 2.0 ที่สามารถเอื้อให้เกิดการสื่อสารแบบ 2 ทาง
ปัจจุบัน นักท่องโลกไซเบอร์สามารถกลั่นไอเดียเจ๋งๆได้ด้วยตัวเอง โดยมีเพื่อนร่วมโลก ไซเบอร์เป็นผู้รับชม ฟัง และอ่าน
แทบไม่น่าเชื่อว่าเราสามารถเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ หรือดารานำบน Youtube เป็นศิลปิน-แต่งเพลงบน Myspace เป็นช่างภาพมืออาชีพบน Flickr เป็นดีเจ-พิธีกรบน Podcast หรือเป็น นักประพันธ์บนหน้า Blog ของเราเองได้ ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ง่าย เร็วทันใจ และทันทีที่ต้องการ เรียกได้ว่าอยู่ในห้องนอนคุณก็สามารถเสิร์ฟงานสุดเจ๋งให้ทั่วโลกยลได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการนำ Web 2.0 เข้ามาผนวกกับการบริการออนไลน์ของห้องสมุดจนกลายเป็น “Library 2.0” แต่เดิมห้องสมุดมีแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาสื่อและบริการให้เป็นห้องสมุดที่เต็มไปด้วยความทันสมัยของข้อมูลความสะดวกในการใช้บริการ และสามารถให้ผู้ใช้บริการร่วมแบ่งปันข้อมูลกับห้องสมุดได้
นำห้องสมุดเข้าสู่โลก 2.0 ได้อย่างไร ?
การจะเข้าสู่โลก 2.0 ได้ ต้องเริ่มจากการเป็นผู้เล่นก่อน มีห้องสมุดจำนวนมากที่ได้เริ่มและลองเล่นเครื่องมือการสร้างเครือข่ายทางสังคมต่างๆ (Social Networking Tools) ที่มีให้บริการมากมาย แล้วนำมาประยุกต์ใช้ เช่น
Blog - บทความออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ หลายหน่วยงานใช้เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสารให้ผู้สนใจได้ติดตาม
Wiki - ต้นแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนบทความสารานุกรมในเรื่องที่น่ารู้ต่างๆ ในแบบช่วยกันเขียน ช่วยกันแก้ไข อภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปสุดท้าย เป็นองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือ
Folksonomy - เรียกอีกอย่างว่า Tag เป็นคำหรือข้อความที่บอกถึงหมวดหมู่กลุ่มเนื้อหาของสิ่งต่างๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งบางคนอาจจะประยุกต์ใช้โดยตอบแทนที่จะบอกว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ให้ข้อมูลการนำไปใช้แทนก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
RSS - รูปแบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้เราสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแค่บอกรับ (Subscribe) เว็บที่เราสนใจ หากมีการอัพเดตใดๆ ข้อมูลเหล่านี้จะเข้ามาหาเราไม่ต้องเข้าไปเว็บไซต์นั้นให้เสียเวลา
Podcast และ Videocast - การเผยแพร่ไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระจายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ซึ่งผู้ใช้สามารถบอกรับการอัพเดตได้เช่นเดียวกับระบบ RSS
Social Bookmarking - แบ่งปันลิงก์ (Link) URL เว็บไซต์ที่น่าสนใจร่วมกันสร้างให้เกิดแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อย URL เหล่านั้นก็เคยมีคนเก็บไว้เพื่อเรียกใช้งาน ห้องสมุดบางแห่งใช้ del.icio.us (Delicious) เพื่อการสร้าง
Subject Guide หรือชี้แหล่งข้อมูลในหัวเรื่องที่น่าสนใจ หรือใช้ในการตอบคำถามได้อีกด้วย
Social Networking - เครือข่ายทางสังคมของคนที่สนใจอะไรเหมือนกัน มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์กับข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ
Next Generation OPEC - การสืบค้นหนังสือหรือข้อมูลยุคใหม่ ที่ต้องสะดวกรวดเร็ว พาผู้ใช้ไปยังข้อมูลที่เขาสนใจได้อย่างง่ายดาย มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการช่วยเหลือให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นรวมถึงเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในรายการต่างๆได้
ห้องสมุดในยุคแรกๆ ของโลก ได้แก่ “ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย” ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนางและชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำรายการหนังสือ ซึ่งนับว่าเป็นการจัดทำบรรณานุกรมครั้งแรกสุด ( Encuclopedia Britannica 1953 : Vol 14 : 2)
“อเล็กซานเดรีย” อยู่ทางเหนือสุดของอียิปต์ เป็นเมืองเก่า อยู่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เคยปกครองโดยชาวเมืองอียิปต์ดั้งเดิม แล้วก็ตกเป็นของกรีกโรมัน จนมาถึงการเข้ามาของศาสนาอิสลามจากอาณาจักรออโตมัน เมืองนี้เลยมีศิลปะของทางกรีก โรมัน และตุรกี ปะปนกัน
LIBRARY IN FUTURE
ห้องสมุดแบบดั้งเดิมมีหนังสือ นิตยสาร และวารสารมากมายที่พิมพ์ไว้บนหน้ากระดาษกว่าล้านๆ แผ่น แต่ข้อมูลจำนวนมากที่พบได้ในห้องสมุดทุกวันนี้ ยังสามารถพบได้ทางคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น การที่เราสามารถหาข้อมูลได้สะดวกง่ายดายทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า “ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไรในอนาคต”
จากแนวโน้ม ห้องสมุดในอนาคตจะแตกต่างจากห้องสมุดในปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก โดยห้องสมุดจะไม่ใช่แหล่งสำหรับการค้นหาข้อมูล หรือเป็นแหล่งเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ และเรื่องอื่นๆ ระหว่างกันอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบันจากเว็บไซต์ Social Network ต่างๆ
จึงเห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนนี้ว่า ห้องสมุดในอนาคต จะเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้มากขึ้น อาจมีหนังสือน้อยลง และมีที่ว่างมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ มีจอคอมพิวเตอร์ทันสมัยมากขึ้น สำหรับช่วยหาข้อมูลและเรียกดูข้อมูลต่างๆ การเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิตอลต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดแค่สิ่งพิมพ์ ซึ่งหนังสือจำนวนมากจะถูกเก็บในรูปแบบของดิจิตอลไฟล์ มีจอ TV มากขึ้นสำหรับการดูสื่อ Multimedia และอื่นๆ
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน้า 20
ดังนั้น การที่เราสามารถหาข้อมูลได้สะดวกง่ายดายทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า “ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไรในอนาคต”
จากแนวโน้ม ห้องสมุดในอนาคตจะแตกต่างจากห้องสมุดในปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก โดยห้องสมุดจะไม่ใช่แหล่งสำหรับการค้นหาข้อมูล หรือเป็นแหล่งเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ และเรื่องอื่นๆ ระหว่างกันอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบันจากเว็บไซต์ Social Network ต่างๆ
จึงเห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนนี้ว่า ห้องสมุดในอนาคต จะเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้มากขึ้น อาจมีหนังสือน้อยลง และมีที่ว่างมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ มีจอคอมพิวเตอร์ทันสมัยมากขึ้น สำหรับช่วยหาข้อมูลและเรียกดูข้อมูลต่างๆ การเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิตอลต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดแค่สิ่งพิมพ์ ซึ่งหนังสือจำนวนมากจะถูกเก็บในรูปแบบของดิจิตอลไฟล์ มีจอ TV มากขึ้นสำหรับการดูสื่อ Multimedia และอื่นๆ
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน้า 20