ก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 (Library 2.0) ได้อย่างไร |
เขียนโดย Boonlert Aroonpiboon | |
Library 2.0 คืออะไร ลักษณะใดของห้องสมุดจึงจะเรียกว่าเป็นการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ Library 2.0 ประเทศไทยก้าวสู่ยุค Library 2.0 แล้วหรือยัง และอีกหลายๆ คำถามที่บรรณารักษ์ ผู้บริหารห้องสมุด และสำนักวิทยบริการต่างๆ ต้องการคำตอบที่ชัดเจน Library 2.0 กล่าวให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาเว็บไซต์บริการ/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุด สำนักวิทยบริการต่างๆ ที่เน้นการโต้ตอบกับผู้ใช้ การทำงานร่วมกัน ตลอดจนการนำเสนอด้วยสื่อมัลมีเดียที่เหมาะสม ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงนับเป็นการให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตนั่นเอง การให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางค่อนข้างจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็คงจะหมายถึงการจัดทำเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ไม่ได้เพียงแต่เข้ามาดูว่าเว็บห้องสมุดมีอะไรบ้าง ใครเป็นผู้บริหาร หน้าตาอย่างไร และเปิด/ปิดเมื่อไร แต่ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการติชม แนะนำบริการ และสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกับบุคลากรของห้องสมุดได้ด้วย โดยการให้สิทธิ์นี้ก็คงแล้วแต่นโยบายของหน่วยงานเอง ตัวอย่างง่ายๆ ในการก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 ก็คือ การพัฒนาเว็บไซต์ที่เน้นสื่อมัลติมีเดีย และเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ มากกว่าข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา รูปแบบการให้บริการ โครงสร้างองค์กร เวลาเปิด/ปิด ดังนั้นบุคลากรของห้องสมุดจะต้องเปิดใจร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้ที่ตนมีความเชี่ยวชาญเผยแพร่ และให้บริการในเชิงรุกอย่างแท้จริง ใครถนัดฐานข้อมูลออนไลน์ ก็ไ่ม่ใช่นั่งรอให้ผู้ใช้เข้ามาขอใช้บริการ แต่ควรจะรุกหาผู้ใช้โดยการศึกษาถึงความต้องการ เช่น ปัจจุบันมีเนื้อหาใด หรือหัวข้อใดที่กำลังกล่าวถึง ก็นำเนื้อหาหรือหัวข้อดังกล่าวมาสืบค้นเบื้องต้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ และสรุปเป็นข้อมูลหรือสาระความรู้ที่เหมาะสมเผยแพร่ให้ทันต่อสถานการณ์ หรือการเปิดช่องทางสื่อสาร ถามตอบแแบบเรียวไทม์ (Real time) ด้วยบริการ ICQ, MSN ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดกับบุคลากรห้องสมุด ซึ่งปัจจุบันก็เห็นชัดว่าบุคลากรห้องสมุดจริงๆ ก็เล่น ICQ หรือ MSN กันระหว่างกันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มาถาม/ตอบอย่างเป็นทางการนั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใ้ช้ที่มีความสนใจในการขีดๆ เขียนๆ ร่วมกันสร้างสรรค์เนื้อหาได้อีกด้วย เช่น การเปิดเว็บไซต์ Blog หรือ Wiki ของห้องสมุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการในรูปแบบนี้ นับว่าทำได้ยากมากในประเทศไทย ด้วยเหตุผลความปลอดภัยของระบบ และมารยาทของผู้เขียนเอง อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยี CMS (Content Management System) และ Blog ทำให้การนำเสนอเนื้อหาจากสมาชิก หรือผู้ใช้ไม่เสี่ยงมากนัก โดยการเปิดระบบเขียนหรือแสดงความคิดเห็นที่ต้องผ่านการตรวจสอบด้วยผู้ดูแลระบบ หรือจะใช้บริการฟรี Blog เช่น wordprees.com, blog.com ก็ได้ครับ นอกจากนี้เว็บไซต์ห้องสมุด ควรรองรับเทคโนโลยี RSS ทั้งผู้ให้และผู้รับ กล่าวคือ ทุกเนื้อหาในเว็บไซต์ควรสามารถแปลงเป็น RSS ได้ทันที และอนุญาตให้หน่วยงานอื่นหรือผู้ใช้อื่นมาติดตามข่าวสารผ่าน RSS News ได้ทันที หรือจะดึงข้อมูล RSS จากแหล่งอื่นมาเผยแพร่ก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นความสามารถเด่นของ CMS และ Blog อยู่แล้วครับ เนื้อหาหมวดหนึ่งที่เว็บไซต์ห้องสมุดมักจะต้องเผยแพร่ก็คือ หนังสือแนะนำ วารสารแนะนำ หรือสื่อโสตฯ ใหม่ๆ ซึ่งกรณีนี้ก็อาจจะเพิ่มความสามารถแนะนำคำค้นโดยผู้ใช้ที่เรียกว่า Tag ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้คำค้น หรือ Subject heading ของสื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้้นห้องสมุด 2.0 ไม่ใช่เพียงแค่รอให้ผุ้ใช้มาสืบค้น แต่จะต้องรุกหาผู้ใช้ด้วย สร้างช่องทางแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุด เช่น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น