วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล

        DRM คือ การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล (Digital Right Management) หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า DRM เป็นคำรวม ๆที่ใช้อ้างถึงกรรมวิธีทางเทคนิคหลาย ๆ แบบในการควบคุมหรือจำกัดการใช้สื่อดิจิทัลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีนี้ลงไป DRM บางครั้งก็เรียกว่า ระบบการจัดการลิขสิทธิ์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อที่นิยมนำเอา DRM  มาจำกัดการใช้งานได้แก่ สื่อดนตรี งานศิลปะ และภาพยนตร์ การใช้ DRM กับสื่อดิจิทัลก็พื่อป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการทำซ้ำ   ผลงานลิขสิทธิ์อย่างผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าการการะทำดังกล่าวจะมีข้อโต้แย้งจากคนบางกลุ่มว่า การ  โอนย้ายสิทธิมนการใช้สื่อจากผู้บริโภคไปให้กับผู้จำหน่ายนั้นจะทำให้สิทธิอันชอบธรรมบางประการของผู้ใช้สูญเสียไปก็ตาม เนื่องจากยังไม่พบว่ามีเทคโนโลยี DRM ใดในปัจจุบันที่จะมีกลไกรักษาสิทธิอันพึงมี หรือสิทธิการใช้งานอย่างยุติธรรมเลย
        DRM ประกอบด้วยส่วนประกอบทางเทคโนโลยีจำนวนหนึ่งซึ่งรวมทั้งมาตรการคุ้มครองทางเทคโนโลยี โดยทั่วไป DRM จะประกอบด้วยส่วนเข้ารหัสลับ กลไกการเฝ้าระวังฐานข้อมูล และส่วนจัดใบอนุญาตให้กับเจ้าของและผู้ใช้ ระบบ DRM จะถูกออกแบบให้จัดการสิทธิที่มีความสัมพันธ์กับ  ข้อมูลข่าวสารอย่างอัตโนมัติ หน้าที่การจัดการนี้สามารถรวบรวมการปกป้องงานลิขสิทธิ์รวมทั้งข่าวสารอื่นๆ จากการใช้งานหรือการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต การแต่งตั้งและการบังคับ

การตั้งเวลามาตรฐาน
วันที่/เวลาดิจิทัล
ดิจิทัล ตั้ง PC time กับ Time server แล้วนำเวลาที่ได้ไปใช้กับ digital camera, digital clock, digital devices
Analog ตั้งเวลากับประกาศกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ผ่านวิทยุ)

การทำ DRM กรณี FlipAlbum
เป็นการกำหนดรหัสผ่าน และข้อจำกัดในการใช้งานในการเปิดใช้งาน


การทำ DRM กรณี DesktopAuthor
เป็นการกำหนดข้อจำกัดในการเข้าใช้งาน เช่น สามารถอ่านได้จำนวนกี่หน้า เป็นต้น


การทำ DRM/IRM ของ MS Office & PDF
เป็นการกำหนดคุณสมบัติของไฟล์ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ รายละเอียดต่างๆ ของไฟล์


การทำ DRM – watermark ของรูปภาพ
เป็นการกำหนดลิขสิทธิ์ ข้อความ copy right ของเจ้าของผลงาน โดยโปรแกรม picture shark



วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Web 2.0


         คำว่า “Web 2.0” เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม O'Reilly Media Web 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 คำว่า “Web 2.0” นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัว Web 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของ Web 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า “Web 2.0” จะถูกนำมาเรียกใช้

          Web 2.0 นั้นมีคำจำกัดความหลายอย่าง Tim O'Reilly ได้กล่าวไว้ว่า Web 2.0 เปรียบเหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมีลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกัน ภายใต้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวม Tim O'Reilly ได้แสดงตัวอย่างของระดับของ Web 2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้
  • ระดับ 3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น Wikipedia Skype E-bay Craigslist
  • ระดับ 2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่ง Tim O’Reilly ยกตัวอย่างเว็บไซต์ Flickr เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
  • ระดับ 1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น Google Docs และ iTunes
  • ระดับ 0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น Mapquest และ Google Maps
          โดยลักษณะที่เด่นชัดของ Web 2.0 นั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว โดยรวมไปถึงการรวดเร็ว และการง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งบล็อกและเว็บที่ให้บริการอัปโหลดภาพถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่ให้เห็นได้ทั่วไป ที่มีการให้บริการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการใช้งานที่ง่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด เห็นได้ว่าลักษณะของ Web 2.0 นั้นก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหา ที่รวดเร็ว และมีการแบ่งปันข้อมูลที่ง่ายขึ้น โดยลักษณะของเว็บเปลี่ยนจากทางเน้นหนักทางด้านเทคนิค ไปในด้านข้อมูลข่าวสารแทนที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านธุรกิจต่อมา
          ถึงแม้ว่า Web 2.0 จะมีการนิยมใช้งาน AJAX Flash Flex Java Silverlight ช่วยในการจัดการข้อมูล แต่ตัวเทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในรูปแบบของ Web 2.0 แต่อย่างใด โดยเทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยให้เว็บเพจสามารถดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มาที่หน้าเว็บได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหน้าทั้งหมดใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
คุณลักษณะของเว็บ 2.0
  1. หลังจากที่ดอตคอมในยุคนั้นได้ล่มสลายลงไป แนวคิดของการสร้างสรรค์ธุรกิจเว็บไซต์ และการออกแบบต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการที่สำคัญเพิ่มขึ้นเช่น เรื่องความน่าสนใจของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจออนไลน์ด้วยแนวทางใหม่ๆ จึงได้กำหนดคุณลักษณะของเว็บ 2.0 ดังนี้
  2. ลักษณะเนื้อหามีการแบ่งส่วนบนหน้าเพจเปลี่ยนจากข้อมูลก้อนใหญ่มาเป็นก้อนเล็ก
  3. ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บได้และสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่ผ่านการจัดการให้กับกลุ่มคนในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคมออนไลน์สังคมออนไลน์เกิดความเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น เกิดกิจกรรมบนนั้นมากขึ้น
  4. เนื้อหาจะมีการจัดเรียง จัดกลุ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม
  5. เกิดโมเดลทางธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และทำให้ธุรกิจเว็บไซต์กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล
  6. การบริการ คือ เว็บที่มีลักษณะเด่นในการให้บริการหลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีแนวทางเดียวกัน
จาก Web1.0 สู่ยุค Web2.0

เว็บรุ่นเก่านั้น Content มักเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของเว็บ ที่ไม่ต้องการให้นำไปลงที่อื่น แต่ด้วยความเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างของ Web2.0 กติกานี้จึงเปลี่ยนไป เจ้าของเนื้อหากลับต้องการให้เนื้อหาของตัวเองแพร่หลายมากที่สุด เช่น Youtube ให้แปะ Code สั้นๆ แล้วนำคลิปไปฉายในเว็บใดก็ได้ หรือ Blog แทบทุกแห่งก็มี RSS ให้ผู้อ่านเข้าดูผ่านโปรแกรมอื่นๆ หรือเว็บอื่นๆ ได้

และนี่คือตัวอย่างของ รูปแบบของเว็บไซต์ ที่เปลี่ยนจาก Web1.0 ไปสู่ยุค Web2.0

Web1.0
doubleClick.com ระบบแปะแบนเนอร์โฆษณาตายตัว
ofoto.com เว็บอัลบั้มเก็บรูปออนไลน์แบบเก่า
akamai.com เว็บศูนย์กลางรับฝากไฟล์ให้ดาวน์โหลด
britannica.com จับสารานุกรมมาออนไลน์ใส่เว็บ
Homepage ส่วนตัว ผู้เขียนต้องมีความรู้พื้นฐานการทำเว็บ และยากที่จะแบ่งปันส่งต่อเนื้อหาออกไป
แข่งกันจอง Domain Name ชื่อเว็บดีๆ ไว้เก็งกำไร

Web2.0
Google Adsense ระบบโฆษณาเป็นลิงค์ตามแต่คำที่ผู้ใช้ค้นหา
flickr.com เว็บอัลบั้มเก็บและแชร์รูปออนไลน์ที่มีการโยงใยเป็นชุมชน ส่งต่อรูปกันง่าย
BitTorrent ระบบที่ผู้ใช้ต่างก็ดาวน์โหลดไฟล์จากกันและกันเอง
wikipedia.com เว็บสารานุกรมที่ผู้ใช้บัญญัติคำกันเอง ให้ความหมายกันเอง และแก้ไขคำของคนอื่นได้ตลอดเวลา
Blog เขียนง่าย ใส่รูป เสียง คลิปได้ง่ายๆ เหมือนส่งเมล เผยแพร่ส่งต่อได้กว้างขวาง
SEO (Search Engine Optimization) ลงทุนกับเทคนิคทำให้ลิงค์เว็บบริษัทตัวเองได้อยู่หน้าแรกบนๆ ใน Google, เสิร์ชอื่นๆ

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติแนวทางการศึกษาเป็นมาตราต่างๆ ซึ่งการศึกษาในยุคปัจจุบัน ต้องให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด มีความรู้ มีคุณธรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ภูมิปัญญา และวิทยาการ นอกจากนี้โรงเรียนแต่ละโรงเรียนสามารถสร้างหลักสูตรสถานศึกษาได้เอง โดยมีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม เป็นหลัก และต้องมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย ซึ่งแต่ละโรงเรียนสามารถกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ตามความเหมาะสม เพราะความมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข    
     กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจการอ่านจนกระทั่งมีนิสัยรักการอ่าน และได้พัฒนาการอ่านจนกระทั่งมีความสามารถในการอ่าน นำประโยชน์จาการอ่านไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอ่านทุกประเภท


กรมวิชาการ ให้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระทำเพื่อ
    1.   เร้าใจบุคคลหรือบุคคลที่เป็นเป้าหมายให้เกิดความอยากรู้ อยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพ
    2.  เพื่อแนะนำชักชวนให้เกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน สามารถนำความรู้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์ เกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆดีขึ้น
    3.  เพื่อกระตุ้น แนะนำให้อยากรู้ อยากอ่านหนังสือหลายอย่าง เปิดความคิดให้กว้าง ให้มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย พัฒนาการอ่านจนถึงขั้นที่สามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้
    4.  เพื่อสร้างบรรยากาศที่จูงใจให้อ่าน

Library 2.0


ก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 (Library 2.0) ได้อย่างไร



เขียนโดย Boonlert Aroonpiboon   
          Library 2.0 คืออะไร ลักษณะใดของห้องสมุดจึงจะเรียกว่าเป็นการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ Library 2.0 ประเทศไทยก้าวสู่ยุค Library 2.0 แล้วหรือยัง และอีกหลายๆ คำถามที่บรรณารักษ์ ผู้บริหารห้องสมุด และสำนักวิทยบริการต่างๆ ต้องการคำตอบที่ชัดเจน          Library 2.0 กล่าวให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาเว็บไซต์บริการ/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุด สำนักวิทยบริการต่างๆ ที่เน้นการโต้ตอบกับผู้ใช้ การทำงานร่วมกัน ตลอดจนการนำเสนอด้วยสื่อมัลมีเดียที่เหมาะสม ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงนับเป็นการให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
          การให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางค่อนข้างจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็คงจะหมายถึงการจัดทำเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ไม่ได้เพียงแต่เข้ามาดูว่าเว็บห้องสมุดมีอะไรบ้าง ใครเป็นผู้บริหาร หน้าตาอย่างไร และเปิด/ปิดเมื่อไร แต่ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการติชม แนะนำบริการ และสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกับบุคลากรของห้องสมุดได้ด้วย โดยการให้สิทธิ์นี้ก็คงแล้วแต่นโยบายของหน่วยงานเอง
ตัวอย่างง่ายๆ ในการก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 ก็คือ การพัฒนาเว็บไซต์ที่เน้นสื่อมัลติมีเดีย และเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ มากกว่าข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา รูปแบบการให้บริการ โครงสร้างองค์กร เวลาเปิด/ปิด ดังนั้นบุคลากรของห้องสมุดจะต้องเปิดใจร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้ที่ตนมีความเชี่ยวชาญเผยแพร่ และให้บริการในเชิงรุกอย่างแท้จริง ใครถนัดฐานข้อมูลออนไลน์ ก็ไ่ม่ใช่นั่งรอให้ผู้ใช้เข้ามาขอใช้บริการ แต่ควรจะรุกหาผู้ใช้โดยการศึกษาถึงความต้องการ เช่น ปัจจุบันมีเนื้อหาใด หรือหัวข้อใดที่กำลังกล่าวถึง ก็นำเนื้อหาหรือหัวข้อดังกล่าวมาสืบค้นเบื้องต้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ และสรุปเป็นข้อมูลหรือสาระความรู้ที่เหมาะสมเผยแพร่ให้ทันต่อสถานการณ์
          หรือการเปิดช่องทางสื่อสาร ถามตอบแแบบเรียวไทม์ (Real time) ด้วยบริการ ICQ, MSN ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดกับบุคลากรห้องสมุด ซึ่งปัจจุบันก็เห็นชัดว่าบุคลากรห้องสมุดจริงๆ ก็เล่น ICQ หรือ MSN กันระหว่างกันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มาถาม/ตอบอย่างเป็นทางการนั่นเอง
นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใ้ช้ที่มีความสนใจในการขีดๆ เขียนๆ ร่วมกันสร้างสรรค์เนื้อหาได้อีกด้วย เช่น การเปิดเว็บไซต์ Blog หรือ Wiki ของห้องสมุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการในรูปแบบนี้ นับว่าทำได้ยากมากในประเทศไทย ด้วยเหตุผลความปลอดภัยของระบบ และมารยาทของผู้เขียนเอง
อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยี CMS (Content Management System) และ Blog ทำให้การนำเสนอเนื้อหาจากสมาชิก หรือผู้ใช้ไม่เสี่ยงมากนัก โดยการเปิดระบบเขียนหรือแสดงความคิดเห็นที่ต้องผ่านการตรวจสอบด้วยผู้ดูแลระบบ หรือจะใช้บริการฟรี Blog เช่น wordprees.com, blog.com ก็ได้ครับ
          นอกจากนี้เว็บไซต์ห้องสมุด ควรรองรับเทคโนโลยี RSS ทั้งผู้ให้และผู้รับ กล่าวคือ ทุกเนื้อหาในเว็บไซต์ควรสามารถแปลงเป็น RSS ได้ทันที และอนุญาตให้หน่วยงานอื่นหรือผู้ใช้อื่นมาติดตามข่าวสารผ่าน RSS News ได้ทันที หรือจะดึงข้อมูล RSS จากแหล่งอื่นมาเผยแพร่ก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นความสามารถเด่นของ CMS และ Blog อยู่แล้วครับ
          เนื้อหาหมวดหนึ่งที่เว็บไซต์ห้องสมุดมักจะต้องเผยแพร่ก็คือ หนังสือแนะนำ วารสารแนะนำ หรือสื่อโสตฯ ใหม่ๆ ซึ่งกรณีนี้ก็อาจจะเพิ่มความสามารถแนะนำคำค้นโดยผู้ใช้ที่เรียกว่า Tag ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้คำค้น หรือ Subject heading ของสื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
          ดังนั้้นห้องสมุด 2.0 ไม่ใช่เพียงแค่รอให้ผุ้ใช้มาสืบค้น แต่จะต้องรุกหาผู้ใช้ด้วย สร้างช่องทางแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุด เช่น
  1. เปลี่ยนจากระบบอีเมล์หรือ FAQ เป็นการให้บริการด้วย ICQ หรือ MSN  
  2. เปลี่ยนจากเนื้อหานำเสนอด้วยข้อความอย่างเดียว เป็นการให้บริการด้วยสื่อโต้ตอบ หรือสื่อเสมือนจริง
  3. เปิด Blog หรือ Wiki เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ แลกเปลียนความรู้
  4. คำค้นจากผู้ใช้ (Tag) มีความสำคัญพอๆ กับ Controled Term 
  5. เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์แบบธรรมดา หรือจ้างพัฒนาราคาแพง แต่เลือกใช้ความสามารถของ CMS ที่เหมาะสมในกลุ่ม Open Source ที่มีให้เลือกได้หลากหลาย

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จีฉ่อย


       จีฉ่อย     คือ ชื่อร้านขายของชำขนาดหนึ่งคูหา ตั้งอยู่หน้าตลาดสามย่าน ตรงบริเวณถนนพญาไท ตรงข้ามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่าเป็นสีสันแห่งหนึ่งของบริเวณสามย่าน ร้านจีฉ่อยเป็นร้ายขายของที่ขึ้นชื่อว่า มีของขายทุกอย่าง และถ้าของไหนไม่มีขายในร้าน จะสามารถมาเอาได้ภายใน 2 วันให้หลัง โดยเปิดตลอด 24 ชั่วโมง    (ในเวลาเช้าถึงหัวค่ำ จะเปิดทำการที่หน้าร้าน ส่วนในเวลาหลังจากนั้น แม้ว่าดูเหมือนร้านจะปิด แต่คุณสามารถใช้บริการของร้านนี้ได้โดยการไปเคาะประตูหลังร้าน เพียงไม่นานนัก อาซิ้มเจ้าของร้านจะเดินฝ่าความมืดมาใกล้ๆ พร้อมกับถามว่า "ลื้อจาเอาอาราย"  )   ลักษณะร้านเป็นร้านกว้างประมาณ 3 เมตร และลึกประมาณ 10 เมตร ร้านจีฉ่อย เป็นธุรกิจครอบครัวชาวจีนที่เปิดร้านขายของชำ

            *** ตำนานเกี่ยวกับจีฉ่อย ***

                พนักงานขาย

              พนักงานขายของร้านนี้เป็นอาซิ้มสองคนผลัดกันเฝ้าเวร ตลอด 24 ชั่วโมง อาซิ้มทั้งสองคนรูปร่างหน้าตาเหมือนกันมากเนื่องจากเป็นฝาแฝดกัน ทำให้ลูกค้าที่มาซื้อของบ่อย ๆ ต่างอดสงสัยไม่ได้ว่า คนขายของร้านนี้ไม่หลับไม่นอนกันเลยหรือ แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกันคือ "ฟันทอง"
            อีกประการหนึ่ง ตู้เก็บสินค้าในร้านที่มีจำนวนมาก วางเรียงรายไว้จนเหลือทางเดินในร้านกว้างเพียงแค่ 60 เซนติเมตร จะต้องอาศัยพนักงานร่างเล็กสองคนนี้เท่านั้น จึงจะสามารถเดินไปหยิบของภายในร้านมาให้ได้
             มีอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า การที่มีร้านจีฉ่อยตั้งอยู่ ณ ตลาดสามย่าน จนถึงปัจจุบันนี้ได้นั้น เป็นเพราะอาซิ้มเจ้าของร้านนั้น ถูกลอตเตอร์รี่รางวัลที่หนึ่ง จึงได้นำเงินรางวัลที่ได้มานั้นไปลงทุนซื้อข้าวของ เพื่อเปิดเป็นร้านขายของโชว์ห่วย แต่บังเอิญว่าซื้อเยอะเกินไปหน่อย จึงเป็นเหตุให้ข้าวของที่ซื้อมาเยอะเกินไปนั้น ต้องวางกองอยู่เต็มร้านจนทำให้ร้านมีสภาพดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
         เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจที่ได้ทราบมาในภายหลังว่าอาซิ้มคนหนึ่งได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว
              ตอนนี้ ลูกชายแกมาช่วยขายในบางวัน บางทีอาซิ้มแกงงๆ หลงๆ ลืมๆ ก็จะได้สติจากลูกชายแกทำให้ขายของได้ถูกต้องมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีลูกจ้างสาวอีกหนึ่งคนคอยช่วยขายด้วย ในร้านยังมีหมาของแกอีกตัวคอยช่วยเฝ้าของ แต่เนื่องด้วยของในร้านเยอะมาก เจ้าของร้านสามารถเดินได้ทีละคนเท่านั้น สวนกันตรงทางเดินไม่ได้ ขนาดหมายังต้องวิ่งไปให้สุดร้านถึงจะกลับตัววิ่งออกมาได้
                        เทคนิคการขาย
             เทคนิคการขายของร้านนี้คือถามหาอะไรมีหมด หากว่าสินค้าชิ้นนั้นไม่มีในร้าน ก็จะบอกให้รอเดี๋ยว แล้วก็หามาให้จนได้ เช่นหากต้องการทานข้าวขาหมู ถามว่ามีไหม พนักงานขายจะบอกว่า "มี รอเหลียว" (มาจาก รอเดี๋ยว) แล้วออกไปหลังร้าน ซื้อข้าวขาหมูจุฬาฯจากตลาดสามย่านมาให้ หรือเคยมีคนถามหากระบวยพลาสติกตักน้ำในห้องน้ำ ก็บอกว่า "มี รอเหลียว" แล้วไปหยิบมาจากไหนมาไม่ทราบ ยังมีน้ำหยดติ๋ง ๆ อยู่ ถือว่าพนักงานขายร้านนี้มีสปิริตของนักขายอย่างแท้จริง ถ้าถามถึงเลื่อย แกก็จะวิ่งไปร้านขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ข้างๆแกล่ะ แล้วก็มาตั้งราคาเอง ถ้าของชิ้นนั้นต้องใช้เวลาในการหาสักครู่ใหญ่ แกก็จะมีลูกอม หรือขนมขบเคี้ยวมาให้บริการลูกค้าด้วย จะได้ไม่เบื่อ และถ้าซื้อเยอะล่ะก็ แกก็จะมีของกำนัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ปากกา (ถ้าเป็นนิสิต) มอบให้ลูกค้าอีกต่างหาก
            ราคาของ
             หลายๆครั้งที่พนักงานขายจะถามว่า "เคยซื้อเท่าไร" เมื่อบอกราคาที่เคยซื้อไปแล้วเขาจะบอกราคาสินค้าให้เรา สูงกว่าบ้างต่ำกว่าบ้าง โดยที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนแต่อย่างใด เช่น เทปMiniDVที่ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปราคาม้วนละ 500 บาท แต่ถ้าลูกค้าโดนถามว่าซื้อมาเท่าไหร่ ก็จะตอบว่า 200 แล้วอาซิ้มก็จะให้ราคาตามนั้น ถูกบ้าง แพงบ้าง แล้วแต่อารมณ์และความรู้ในสินค้าของแก

                        ของที่ขาย
                ตัวอย่างสินค้าที่มาขาย หรือเคยวางขายในร้านได้แก่ ของเล่น น้ำอัดลม ปากกา สบู่ ลูกบอลพลาสติก ปูนพลาสเตอร์ รองเท้า กากเพชร กับดักหนู ใบลงทะเบียนเรียนของจุฬาฯ ตั๋วเครื่องบิน ฮูล่าฮูป เปียโน สีน้ำมัน และรถยนต์
               มีผู้ที่เคยใช้บริการบอกว่า เคยไปซื้อฮาร์ดดิสก์จากอาซิ้ม เพราะคิดว่าไม่มีแน่นอน แต่อาซิ้มก็ตอบว่ามีแล้วมุดไปหาจนเจอจนได้ มีผู้ใช้บริการอ้างว่า เคยตัดชุดครุยรับปริญญากับจีฉ่อย นัดแค่สองวันมีช่างมาวัดตัวเสร็จสรรพ ได้ชุดครุยยี่ห้อจีฉ่อยไปใส่ถ่ายรูปสวยงาม นอกจากนี้เคยมีนิสิตคณะหนึ่งยืนยันได้ว่าเคยจ้างวาน ให้ร้านจีฉ่อยไปซื้อ เซียมซีเพื่อใช้ในการทำงานมาแล้ว
             นิสิตคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ คนหนึ่งเล่าว่า เคยไปซื้อของกลางดึกเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ประมาณตี 1 เจ้าของร้านบอกให้ไปหลังร้าน ซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียน เสร็จแล้วก็นึกสนุกระหว่างที่รอซิ้มค้นหาของ ตะโกนถามซิ้มว่า มีลิโพ ขายไหม ซิ้มก็ตอบทันทีว่า "จะเอากี่ขวด".. "ยาแก้ปวดล่ะ" แน่นอน ซิ้มตอบ "จะเอากี่เม็ด" นิสิตคนนั้นไม่ยอมแพ้ถามต่อ ว่า "แล้วเก้าอี้หมอฟันล่ะ มีขายมั้ย" ซิ้มนิ่งไปนิดนึงก่อนจะตอบว่า "รอเดี๋ยว" ...(ไม่มีการยอมแพ้)
             อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่นิสิตจุฬาฯชอบไปลองของกับอาซิ้มเจ้าของร้าน โดยสั่งซื้อ "กิโมโน 1 ชุด"   อาซิ้มหันมาและถามว่า "ลื้อ จะเอาจริงรึเปล่า?" (นั่น มีท้าทายกันด้วย) นานไปๆ จากร้านขายของสารพัดอย่าง ก็เป็นได้ทั้งเวทีท้ามวย ขายหัวเราะ ร้านอาหาร ร้านตัดผม และร้านอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งการประชันฝีมือ จีฉ่อยไม่เคยแพ้ใครเลย แม้จะมีคนท้าว่าอยากใส่รองเท้าบู๊ทสีชมพูสด ขนาดฝ่าเท้า แกก็อุตส่าห์หามาให้จนได้ นะ
               อันนี้ก็ขอเสริมอีกหน่อยว่า อันนี้เขาเล่ากันมานะ มีคนเคยลองของกับเจ๊แกอีกแล้ว. . . "เจ๊ ข้าวมันไก่จาน" เจ๊แกก็ "รอเหลียวๆ" หายไปพักใหญ่ๆ เจ๊แกเดินออกมาพร้อมกับข้าวมันไก่จริงๆ เคยขอซื้อเก้าอี้หวายยังมีเลย และเมื่อไม่นานมีนี้ เพื่อนๆ ที่คณะของผมก็เคยไปซื้อกระด้งมาแล้ว โอ้โห หามาได้ แต่แพงหน่อยนะ อันละตั้งเกือบ 300
              นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า เคยมีคนคิดที่จะลองของ โดยจะไปขอซื้อ
"เฮลิคอปเตอร์"  จากเจ๊แกเหมือนกัน แต่สุดท้ายไม่กล้าไปลอง เพราะกลัวว่าด้วยสปิริตนักขายอันแรงกล้าของเจ๊แก จะพาลทำให้เจ๊แกถ่อสังขารไปสรรหา"เฮลิคอปเตอร์"มาให้ลูกค้า จนอาจทำให้เจ๊แกล้มหมอนนอนเสื่อลงไปได้ เป็นบาปเป็นกรรมเปล่าๆ และอีกเหตุผลนึง คือ กลัวจะไม่มีตังจ่ายเจ๊แก เพราะเจ๊แกอาจจะไปหา"เฮลิคอปเตอร์"มาได้จริงๆก็เป็นได้ เพราะขนาดลอตเตอร์รี่รางวัลที่หนึ่งเจ๊แกยังมีปัญญาหามาจนมีเงินมาเปิดร้านได้เนี่ย เจ๊แกอาจจะมีปัญญาหาเฮลิคอปเตอร์มาให้ก็ได้นี่นาใครจะไปรู้ล่ะ

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน


       บริการยืม ระหว่างห้องสมุด ( Interlibrary Loan Service) หมายถึง เป็นการบริการที่ห้องสมุดแห่งหนึ่งติดต่อขอยืมหรือถ่ายสำเนาเอกสารหรือวัสดุ เพื่อการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งไม่มีในห้องสมุดของตนมาให้บริการตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ โดยปฏิบัติตาม ระเบียบการยืม ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืม (Lending Library) และห้องสมุดผู้ขอยืม (Borrowing Library)
       บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นบริการที่ทางห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับเอกสารสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น บทความในวารสาร / หนังสือ / ตำราเรียน / วิทยานิพนธ์ / งานวิจัย ฯลฯ โดยทางห้องสมุดจะดำเนินการขอข้อมูลจากห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ หรือ pdf file ให้ผู้ขอใช้

ประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ
1. ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศ ๆ ตามที่ต้องการไม่ว่าสารนิเทศนั้นจะเก็บไว้ที่ใด
2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ใช้โดยไม่ต้องเดินทางไปแสวงหาสารนิเทศที่ต้องการด้วยตนเอง

ลักษณะการให้บริการ
        การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นการให้บริการทำสำเนาเอกสาร ได้แก่ บทความ หนังสือ วิทยานิพนธ์ และเอกสารวิชาการต่าง ๆ

วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด
2. ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่
3. ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ห้องสมุดในอนาคต



ปรับปรุงจากหนังสือ เปลี่ยนโลกรอบตัว จัดทำโดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2553 ห้องสมุดที่เราคุ้นชินกับการค้นหนังสือเล่มหนาเตอะ มาหาข้อมูลด้วยการอ่านบนโต๊ะ กำลังจะพัฒนาไปสู่หน้าจอกระจกหรือพลาสติค ที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันใจ  ก่อนหน้านี้หากต้องการหาหนังสือซักเล่มในห้องสมุด คงต้องเดินไปคุ้ยจากบัตรรายการที่วางเรียงเป็นแถว หรือคลิกไปหาในระบบสืบค้นหนังสือจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบการจัดการทั้งหมดล้วนอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์  แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เรื่องราวในห้องสมุดก็เปลี่ยนแปลงตั้งแต่การจัดเก็บ ค้นหา ไปจนถึงการมีส่วนร่วมดูแลข้อมูลของทุกคนที่ท่องโลกอินเตอร์เน็ต

Web 2.0  Library 2.0
จากแนวคิด สู่การประยุกต์ใช้จริง
โลกเสมือนในอินเตอร์เน็ตดูเหมือนจะซ้อนทับกับโลกแห่งความจริงอย่างแยกไม่ออก ผู้คนนำตัวไปอาศัยในพื้นที่อิสระแห่งนี้ ตั้งแต่การเรียนรู้ การทำงาน รวมถึงการบริโภค จับจ่ายใช้สอยได้อย่างไร้ขอบเขตด้วยเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ถึงขนาดบันดาลทุกอย่างได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ดังคุณสมบัติของ Web 2.0 ที่สามารถเอื้อให้เกิดการสื่อสารแบบ 2 ทาง

ปัจจุบัน นักท่องโลกไซเบอร์สามารถกลั่นไอเดียเจ๋งๆได้ด้วยตัวเอง โดยมีเพื่อนร่วมโลก   ไซเบอร์เป็นผู้รับชม ฟัง และอ่าน

แทบไม่น่าเชื่อว่าเราสามารถเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ หรือดารานำบน Youtube เป็นศิลปิน-แต่งเพลงบน Myspace เป็นช่างภาพมืออาชีพบน Flickr เป็นดีเจ-พิธีกรบน Podcast หรือเป็น     นักประพันธ์บนหน้า Blog ของเราเองได้ ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ง่าย เร็วทันใจ และทันทีที่ต้องการ เรียกได้ว่าอยู่ในห้องนอนคุณก็สามารถเสิร์ฟงานสุดเจ๋งให้ทั่วโลกยลได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการนำ Web 2.0 เข้ามาผนวกกับการบริการออนไลน์ของห้องสมุดจนกลายเป็น “Library 2.0” แต่เดิมห้องสมุดมีแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาสื่อและบริการให้เป็นห้องสมุดที่เต็มไปด้วยความทันสมัยของข้อมูลความสะดวกในการใช้บริการ และสามารถให้ผู้ใช้บริการร่วมแบ่งปันข้อมูลกับห้องสมุดได้
นำห้องสมุดเข้าสู่โลก 2.0 ได้อย่างไร ?
การจะเข้าสู่โลก 2.0 ได้ ต้องเริ่มจากการเป็นผู้เล่นก่อน มีห้องสมุดจำนวนมากที่ได้เริ่มและลองเล่นเครื่องมือการสร้างเครือข่ายทางสังคมต่างๆ (Social Networking Tools) ที่มีให้บริการมากมาย แล้วนำมาประยุกต์ใช้ เช่น

Blog - บทความออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ หลายหน่วยงานใช้เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสารให้ผู้สนใจได้ติดตาม

Wiki - ต้นแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนบทความสารานุกรมในเรื่องที่น่ารู้ต่างๆ ในแบบช่วยกันเขียน ช่วยกันแก้ไข อภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปสุดท้าย เป็นองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือ

Folksonomy - เรียกอีกอย่างว่า Tag เป็นคำหรือข้อความที่บอกถึงหมวดหมู่กลุ่มเนื้อหาของสิ่งต่างๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งบางคนอาจจะประยุกต์ใช้โดยตอบแทนที่จะบอกว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ให้ข้อมูลการนำไปใช้แทนก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

RSS - รูปแบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้เราสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแค่บอกรับ (Subscribe) เว็บที่เราสนใจ หากมีการอัพเดตใดๆ ข้อมูลเหล่านี้จะเข้ามาหาเราไม่ต้องเข้าไปเว็บไซต์นั้นให้เสียเวลา

Podcast และ Videocast - การเผยแพร่ไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระจายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ซึ่งผู้ใช้สามารถบอกรับการอัพเดตได้เช่นเดียวกับระบบ RSS

Social Bookmarking - แบ่งปันลิงก์ (Link) URL เว็บไซต์ที่น่าสนใจร่วมกันสร้างให้เกิดแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อย URL เหล่านั้นก็เคยมีคนเก็บไว้เพื่อเรียกใช้งาน ห้องสมุดบางแห่งใช้ del.icio.us (Delicious) เพื่อการสร้าง
Subject Guide หรือชี้แหล่งข้อมูลในหัวเรื่องที่น่าสนใจ หรือใช้ในการตอบคำถามได้อีกด้วย

Social Networking - เครือข่ายทางสังคมของคนที่สนใจอะไรเหมือนกัน มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์กับข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ

Next Generation OPEC - การสืบค้นหนังสือหรือข้อมูลยุคใหม่ ที่ต้องสะดวกรวดเร็ว   พาผู้ใช้ไปยังข้อมูลที่เขาสนใจได้อย่างง่ายดาย มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการช่วยเหลือให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นรวมถึงเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในรายการต่างๆได้
          
           ห้องสมุดในยุคแรกๆ   ของโลก ได้แก่ “ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย” ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนางและชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำรายการหนังสือ ซึ่งนับว่าเป็นการจัดทำบรรณานุกรมครั้งแรกสุด ( Encuclopedia Britannica 1953 : Vol 14 : 2)

         “อเล็กซานเดรีย” อยู่ทางเหนือสุดของอียิปต์ เป็นเมืองเก่า อยู่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เคยปกครองโดยชาวเมืองอียิปต์ดั้งเดิม แล้วก็ตกเป็นของกรีกโรมัน  จนมาถึงการเข้ามาของศาสนาอิสลามจากอาณาจักรออโตมัน เมืองนี้เลยมีศิลปะของทางกรีก โรมัน และตุรกี ปะปนกัน
 
LIBRARY IN FUTURE
ห้องสมุดแบบดั้งเดิมมีหนังสือ นิตยสาร และวารสารมากมายที่พิมพ์ไว้บนหน้ากระดาษกว่าล้านๆ แผ่น แต่ข้อมูลจำนวนมากที่พบได้ในห้องสมุดทุกวันนี้ ยังสามารถพบได้ทางคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน

ดังนั้น การที่เราสามารถหาข้อมูลได้สะดวกง่ายดายทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า 
“ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไรในอนาคต”
จากแนวโน้ม ห้องสมุดในอนาคตจะแตกต่างจากห้องสมุดในปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก โดยห้องสมุดจะไม่ใช่แหล่งสำหรับการค้นหาข้อมูล หรือเป็นแหล่งเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ และเรื่องอื่นๆ ระหว่างกันอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบันจากเว็บไซต์ Social Network ต่างๆ

จึงเห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนนี้ว่า ห้องสมุดในอนาคต จะเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้มากขึ้น อาจมีหนังสือน้อยลง และมีที่ว่างมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ มีจอคอมพิวเตอร์ทันสมัยมากขึ้น สำหรับช่วยหาข้อมูลและเรียกดูข้อมูลต่างๆ การเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิตอลต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดแค่สิ่งพิมพ์ ซึ่งหนังสือจำนวนมากจะถูกเก็บในรูปแบบของดิจิตอลไฟล์ มีจอ TV มากขึ้นสำหรับการดูสื่อ Multimedia และอื่นๆ

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน้า 20